เหล็กกัลวาไนซ์ คือ การนำสังกะสีมาผ่านกระบวนการชุบเคลือบตัวเหล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม ซึ่งการป้องกันสนิมที่นิยมใช้กันมากที่สุดมี 2 วิธี คือการชุบกัลวาไนซ์ และการทาสีกันสนิม
วิธีการเคลือบพื้นผิวเหล็กเพื่อป้องกันสนิม
วิธีทำ คือ นำเหล็กไปขึ้นรูปตามที่ต้องการ และนำไปชุบในสังกะสีร้อนหลอมเหลวหรือที่เรียกว่า กระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing)
วิธีนี้จะช่วยให้เหล็กไม่ขึ้นสนิมเป็นการปกป้องผิวงานทั้งภายใน และภายนอก ซึ่งการทาสีกันสนิมจะทำได้ยากกว่า อาจจะไม่ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องทาซ้ำบ่อย ๆ นอกจากนี้การเคลือบพื้นผิวเหล็กด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันสนิมยังสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
- การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electrogalvanizing)
- การเคลือบด้วยวิธีทางกล (Mechanical Coatings)
- การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (Zinc Spraying)
- การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (Zinc-Rich Paints)
- การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Hot Dip Galvanizing)
- การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (Sherardizing)
คุณสมบัติของเหล็กกัลวาไนซ์
- สามารถนำไปใช้งานได้ทันที สะดวก และรวดเร็ว
- เคลือบป้องกันสนิมเรียบร้อย
- ผลิตจากเหล็กชุบสังกะสีที่มีคุณภาพ
- เหมาะสำหรับใช้กับงานโครงสร้าง เช่น สะพาน บ้าน และอาคาร เป็นต้น
ข้อดีของเหล็กกัลวาไนซ์
- ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงานก่อสร้าง
- ช่วยประหยัดค่าสีกันสนิม
- มีความแข็งแรง และทนทาน
- หมดปัญหาเรื่องสนิม
ข้อเสียของเหล็กกัลวาไนซ์
- ไม่เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก
- ไม่เหมาะกับระบบประปา หรือระบบท่อ หากสังกะสีปนเปื้อนกับน้ำจะทำให้เป็นอันตรายกับการอุปโภค และบริโภค
การนำเหล็กกัลวาไนซ์ไปใช้งานต่าง ๆ
- เหล็กกัลวาไนซ์ตัวซี เหมาะสำหรับงานโครงสร้างหลังคา หรือโครงสร้างผนังทั้งภายใน และภายนอก
- เหล็กกัลวาไนซ์ตัวยู เหมาะสำหรับงานโครงสร้างผนังบ้านเป็นตัวรับของเหล็กตัวซี
- เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ หรือเหล็กกล่องแบน เหมาะสำหรับงานโครงสร้างหลัก เช่น เสาบ้าน ส่วนเหล็กกล่องแบนเหมาะกับงานโครงสร้างรองของบ้าน